วันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2560

กลองนิเทศศาสตร์ รังสิต

กลองนิเทศศาสตร์  รังสิต

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่กลางแจ้ง

ประวัติของกลองนิเทศศาสตร์
        กลองนิเทศศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยนักศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลายๆสาขามารวมตัวกัน คนที่มีใจรักในการตีกลองและคนที่อยากตีกลองร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นจนกลองนิเทศศาสตร์มีทั้งหมด 8 ใบ แต่ละใบจะมีความโดดเด่นอยู่และกลองแต่ละใบจะมีเพลงคณะที่เป็นของตัวเอง และมีความยากง่ายของจังหวะในเพลงนั้น กลองนิเทศศาสตร์มีมาทั้งหมด 30 ปีแล้ว กลองนิเทศศาสตร์จัดตั้งขึ้นพร้อมกับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ของเรานั่นเอง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำนิเทศศาสตร์ที่มีแต่ความมันส์และมีท่าเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของนิเทศศาสตร์
2. เพื่อออกไปตีชนคณะกับต่างคณะเพื่อสานสัมพันธ์กับเพื่อนคณะอื่นๆ ผลัดกันตี ผลัดกันเต้นคนละรอบ
3. มีกลองนิเทศเพื่อเวลามีงานในมหาลัยรังสิต เช่น พยอมเกมส์ กลองนิเทศศาสตร์จะออกไปตีระเบิดความมันส์พร้อมตีจังหวะให้เชียร์หลีดเดอร์ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ออกไปโชว์ท่าเต้นที่อลังการงานสร้าง

  กลองนิเทศศาสตร์รังสิตมีทั้งหมด 8 ใบ 8 ประเภท

แหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ต
1. กลองใหญ่หรือBass Drum
   เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราและเป็น กระเดื่องในกลองชุดด้วย จะมีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตและแตรวง จะมีขนาดตั้งแต่ 24 – 32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไวัสำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้


2. สแนร์ Snare Drum

    กลองสแนร์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ (Percussion) มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะ คือ หน้ากลองด้านล่างจะต้องคาดไว้ด้วยสายสแนร์เป็นแผงเพื่อให้กระทบกับหนังกลองด้านล่าง เกิดเสียงซ่าๆ เดิมสายสแนร์ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสแนร์มีทั้งทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นเลวดโลหะ อีกชื่อหนึ่งของสแนร์คือ Side Drum
    กลองสแนร์มีขาตั้งรองรับตังกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดหรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตร้าหรือวงอื่นๆที่นั่งบรเลง สำหรับวงโยะวาทิตและแตรวง มีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลพตัวของผู้ตี กลองจะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูล กลองสแนร์

3. ทิมบาเลส
 ทิมบาเลสเป็นกลองเสียงแหลม มีลักษณะเหมือนกระทะหอยทอด กลองชนิดนี้จะไม่มีหนังล่างของกลอง ข้างล่างจะปล่อยโล่ง เพื่อเสียงที่แหลมมากไปจนถึงเสียงทุ้ม เสียงทุ้มจะอยู่ตรงกลางใบของทั้งสองใบ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

4. กลองทอม 
 กลองทอมจะมีเสียงที่ทุ้มหรือเสียงเบสนั่นเอง กลองจะทำด้วยไม้ ขอบที่ยึดกับหนังกลองจะเป็นเหล็ก จะมีใบเล็กและใบใหญ่ จะใช้ในงานกีฬาสีหรือใช้ตีจังหวะที่เป็นมาตราฐานทั่วไป
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

5. กลองบองโก้
 เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา เป็นกลองขนาดเล็ก ขึงหนังกลองหน้าเดียว ประกอบด้วยกลองสองตัวยึดตึดกัน กลองลูกใหญ่มีชื่อในภาษาสเปนว่า "เฮมบรา" (hembra, ตัวเมีย) ลูกเล็กมีชื่อว่า "มาโช" (macho, ตัวผู้) ใช้เคาะด้วยนิ้ว หรือไม้กลอง (ผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมเคาะด้วยมือ) มักถูกใช้เคาะผสมกับกลองคองกา เพื่อแต่งเติมสีสันให้กับเสียงเพลง เครื่องเคาะรูปแบบนี้ มักถูกพบเห็นได้ในคอนเสิร์ตเพลงแนว ละติน รวมไปถึง คอนเสิร์ตเพลงแนว ดิสโก้ , โซล , ฟังค์ , แจ๊ส , ป็อบร็อค , เร้กเก้ , สกา ในบางครั้ง สำหรับในประเทศไทย บองโก ยังถูกนำไปเคาะผสมกับเพลงเพื่อชีวิต และเพลงลูกทุ่ง อีกด้วย


6. กลอง 3 ใบหรือ Rototom
 กลองมี 3 ใบ เล็ก กลาง ใหญ่ เสียงจะไล่ระดับ ใบเล็กจะมีเสียงแหลม ใบกลางเสียงจะเริ่มทุ้มมานิดนึง ส่วนใบใหญ่จะมีเสียงทุ้ม ถ้าฟังเป็นคำพูดจากการไล่ใบจากใบเล็กไปถึงใบใหญ่ คือ ซื้อ เงิน ผ่อน กลอง 3 ใบจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Rototom




7. ป๊อกๆ หรือ Cowbell
เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ พัฒนามาจากกระดิ่งผูกคอวัว (อังกฤษCow bell) ที่ใช้ผูกคอวัวเพื่อส่งเสียงให้คนเลี้ยงรู้ตำแหน่ง
คาวเบลใช้ตีด้วยไม้กลอง นิยมใช้เล่นกับดนตรีซัลซา ที่เป็นที่นิยมเล่นประกอบการลีลาศแถบละตินอเมริกา และยังใช้เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย


8. แฉหรือไชน่า
 แฉหรือไชน่า เป็นเครื่องกระทบประเภททองเหลือง มีลักษณะเป็นใบ มีรูตรงกลาง เสียงค่อนข้างดัง แฉะๆๆๆ แฉ่ จะใช้ในการตีส่งจังหวะของกลองเพื่อความมันส์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูลแฉไชน่า


ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป และ สถานที่กลางแจ้ง



แหล่งข้อมูลทางสถาบัน


แหล่งข้อมูลบุคคล

Who :   นักศึกษาวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่เป็นมือกลองนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่2 ปละชั้นปีที่4 
What :  เมื่อเสียงกลอง8ใบนี้ดังขึ้นเมื่อไหร่ เป็นสัญญาณที่ทำให้รู้ว่านี่คือนิเทศศาสตร์
When : กลองนิเทศเริ่มต้นขึ้นพร้อมกับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ซึ่งตอนนี้มีอายุถึง 30ปี
Where : ตึก 15 Digital Multimedia Complex 
Why : กลองนิเทศเป็นสีสันของวิยาลัยนิเทศศาสตร์ที่มีจังหวะไม่เหมือนใคร ไม่เคยก็อปปี้จังหวะคณะไหนในมหาลัยรังสิตและเป็นจังหวะเริ่มต้นของความมันส์ ที่เต้นได้ไม่มีวันเหนื่อยและจังหวะไม่มีวันตาย เสียงกลองที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละใบจะมีความโดดเด่นของตัวเองอยู่ในกลอง...พร้อมจะมันส์กันหรือยัง โย่วว

   

   หากจะพูดถึงกลองที่มีความมันและจังหวะที่ไม่เหมือนคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากกลองนิเทศศาสตร์และด้วยเหตุผลนี่เองที่ทำให้กลองนิเทศมีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์ในตัวเองแต่กว่าจะมาเป็นกลองนิเทศไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ใครก็สามารถเป็นได้ต้องผ่านกระบวนการฝึกที่หนักพอสมควรเพื่อที่จะออกไปเป็นทับหน้าของพวกเราชาวนิเทศศาสตร์ 

    
แหล่งข้อมูลสื่อมวลชน













ในภาพอาจจะมี 5 คน
สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น