วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กลองนิเทศศาสตร์ รังสิต


กลองนิเทศศาสตร์ รังสิต

บล็อคนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเรียนในวิชา COM226 มหาวิทยาลัยรังสิต


 

          ชีวิตมือกลอง กว่าจะได้เป็นมือกลองวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ต้องผ่านขั้นตอนหลายๆอย่าง เริ่มจากการฝึกพื้นฐานของจังหวะคือ เริ่มจากการตีพื้นจนกว่าจะได้ครบทุกจังหวะ แล้วถึงจะมีการคัดเลือกว่าใครจะได้เป็นมือกลองของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ คุณสมบัติของการเป็นมือกลองต้องมีความอดทน ขยัน มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ ถ้าหากมีคุณสมบัติเหล่านี้ จะได้รับการคัดเลือกจากรุ่นพี่ กลองใบไหนเหมาะกับใคร " กลองจะเป็นคนเลือก" การรับมือกลองจะมีรุ่นต่อรุ่นไปเรื่อยๆ โดยจะมีรุ่นพี่เข้ามาดูแลอยู่เสมอ



"คนไม่ได้เลือกกลอง แต่กลองเลือกคน"


วัตถุประสงค์

1. เพื่อมีจังหวะที่เป็นเอกลักษณ์ประจำนิเทศศาสตร์ที่มีแต่ความมันส์และมีท่าเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ของนิเทศศาสตร์

2. เพื่อออกไปตีชนคณะกับต่างคณะเพื่อสานสัมพันธ์กับเพื่อนคณะอื่นๆ ผลัดกันตี ผลัดกันเต้นคนละรอบ

3. มีกลองนิเทศเพื่อเวลามีงานในมหาลัยรังสิต เช่น พยอมเกมส์ กลองนิเทศศาสตร์จะออกไปตีระเบิดความมันส์พร้อมตีจังหวะให้เชียร์หลีดเดอร์ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ออกไปโชว์ท่าเต้นที่อลังการงานสร้าง


ประวัติของกลองนิเทศศาสตร์

       กลองนิเทศศาสตร์ จัดตั้งขึ้นโดยนักศึกษาของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ หลายๆสาขามารวมตัวกัน คนที่มีใจรักในการตีกลองและคนที่อยากตีกลองร่วมมือกันจัดตั้งขึ้นจนกลองนิเทศศาสตร์มีทั้งหมด 8 ใบ แต่ละใบจะมีความโดดเด่นอยู่และกลองแต่ละใบจะมีเพลงคณะที่เป็นของตัวเอง และมีความยากง่ายของจังหวะในเพลงนั้น กลองนิเทศศาสตร์มีมาทั้งหมด 30 ปีแล้ว กลองนิเทศศาสตร์จัดตั้งขึ้นพร้อมกับวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ของเรานั่นเอง


แหล่งข้อมูลINTERNET

กลองนิเทศศาสตร์รังสิตมีทั้งหมด 8 ใบ 8 ประเภท

1. กลองใหญ่หรือBass Drum

         เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราและเป็น กระเดื่องในกลองชุดด้วย จะมีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตและแตรวง จะมีขนาดตั้งแต่ 24 – 32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไวัสำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้





2. สแนร์ Snare Drum

       กลองสแนร์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีกระทบ (Percussion) มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะ คือ หน้ากลองด้านล่างจะต้องคาดไว้ด้วยสายสแนร์เป็นแผงเพื่อให้กระทบกับหนังกลองด้านล่าง เกิดเสียงซ่าๆ เดิมสายสแนร์ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสแนร์มีทั้งทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นเลวดโลหะ อีกชื่อหนึ่งของสแนร์คือ Side Drum

       กลองสแนร์มีขาตั้งรองรับตังกลองใช้เป็นส่วนหนึ่งของกลองชุดหรือนำมาใช้บรรเลงประกอบจังหวะสำหรับวงออร์เคสตร้าหรือวงอื่นๆที่นั่งบรเลง สำหรับวงโยะวาทิตและแตรวง มีตัวยึดกลองทำด้วยโลหะคล้องยึดไว้กับลพตัวของผู้ตี กลองจะอยู่ด้านหน้าของผู้ตี





3. ทิมบาเลส

        ทิมบาเลสเป็นกลองเสียงแหลม มีลักษณะเหมือนกระทะหอยทอด กลองชนิดนี้จะไม่มีหนังล่างของกลอง ข้างล่างจะปล่อยโล่ง เพื่อเสียงที่แหลมมากไปจนถึงเสียงทุ้ม เสียงทุ้มจะอยู่ตรงกลางใบของทั้งสองใบ




4. กลองทอม

       กลองทอมจะมีเสียงที่ทุ้มหรือเสียงเบสนั่นเอง กลองจะทำด้วยไม้ ขอบที่ยึดกับหนังกลองจะเป็นเหล็ก จะมีใบเล็กและใบใหญ่ จะใช้ในงานกีฬาสีหรือใช้ตีจังหวะที่เป็นมาตรฐานทั่วไป




5. กลองบองโก้

       เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา เป็นกลองขนาดเล็ก ขึงหนังกลองหน้าเดียว ประกอบด้วยกลองสองตัวยึดติดกัน กลองลูกใหญ่มีชื่อในภาษาสเปนว่า "เฮมบรา" (hembra, ตัวเมีย) ลูกเล็กมีชื่อว่า "มาโช" (macho, ตัวผู้) ใช้เคาะด้วยนิ้ว หรือไม้กลอง (ผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมเคาะด้วยมือ) มักถูกใช้เคาะผสมกับกลองคองกา เพื่อแต่งเติมสีสันให้กับเสียงเพลง เครื่องเคาะรูปแบบนี้ มักถูกพบเห็นได้ในคอนเสิร์ตเพลงแนว ละติน รวมไปถึง คอนเสิร์ตเพลงแนว ดิสโก้ , โซล , ฟังค์ , แจ๊ส , ป็อบร็อค , เร้กเก้ , สกา ในบางครั้ง สำหรับในประเทศไทย บองโก ยังถูกนำไปเคาะผสมกับเพลงเพื่อชีวิต และเพลงลูกทุ่ง อีกด้วย

6. กลอง 3 ใบหรือ Rototom

       กลองมี 3 ใบ เล็ก กลาง ใหญ่ เสียงจะไล่ระดับ ใบเล็กจะมีเสียงแหลม ใบกลางเสียงจะเริ่มทุ้มมานิดนึง ส่วนใบใหญ่จะมีเสียงทุ้ม ถ้าฟังเป็นคำพูดจากการไล่ใบจากใบเล็กไปถึงใบใหญ่ คือ ซื้อ เงิน ผ่อน กลอง 3 ใบจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งคือ Rototom




7. ป๊อกๆ หรือ Cowbell

     เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ พัฒนามาจากกระดิ่งผูกคอวัว (อังกฤษ: Cow bell) ที่ใช้ผูกคอวัวเพื่อส่งเสียงให้คนเลี้ยงรู้ตำแหน่ง
      คาวเบลใช้ตีด้วยไม้กลอง นิยมใช้เล่นกับดนตรีซัลซา ที่เป็นที่นิยมเล่นประกอบการลีลาศแถบละตินอเมริกา และยังใช้เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย




8. แฉหรือไชน่า

        แฉหรือไชน่า เป็นเครื่องกระทบประเภททองเหลือง มีลักษณะเป็นใบ มีรูตรงกลาง เสียงค่อนข้างดัง แฉะๆๆๆ แฉ่ จะใช้ในการตีส่งจังหวะของกลองเพื่อความมันส์



       กลองแต่ละใบก็มีความโดดเด่นของตัวเองมันและมีความเหมือนที่แตกต่างกันออกไป แต่ละใบจะมีจุดเด่นในการใช้ทักษะหรือเสียงที่ตี มีความยากง่ายแตกต่างกันออกไป มีลักษณะที่แปลกประหลาดแตกต่างกันออกไป แต่ก็สามารถนำมารวมกันแล้วตีจังหวะของแต่ละใบที่ไม่เหมือนกัน แต่ฟังแล้วมันเจ๋งมากเวลาที่ตีรวมกันทั้ง8 ใบ



แหล่งข้อมูลทางสถาบัน




หนังสือกลอง 

ผู้เขียน : องอาจ กวีเกียรติคุณ

เนื้อหาภายในหนังสือ
• รู้จักผมกันหรือยังครับ ?
• ทฤษฏีดนตรีเบื้องต้น
• การนับจังหวะ
• ชื่อส่วนต่างๆ ของกลองชุด
• ไม้กลอง
• โน้ตที่เรียกชื่อส่วนต่างๆ
• ฝึกอ่านโน้ตเบื้องต้นจากแบบฝึกหัด
- แบบฝึกหัดที่ 1 โน้ตตัวดำ
- แบบฝึกหัดที่ 2 โน้ตตัวดำ ตัวขาว และตัวกลม
- แบบฝึกหัดที่ 3 โน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น
- แบบฝึกหัดที่ 4 การตี Single Stroke
- แบบฝึกหัดที่ 5 Bass Drum
- แบบฝึกหัดที่ 6 การเหยียบ Hi-Hat
- แบบฝึกหัดที่ 7 Bass Drum AND Hi-Hat

• รู้จักกับจังหวะต่างๆ
- แบบฝึกหัดที่ 8 จังหวะ Rock
- แบบฝึกหัดที่ 9 จังหวะ Funk
- แบบฝึกหัดที่ 10 ACCENT (การเน้นเสียง)
- แบบฝึกหัดที่ 11 การตี RIDE SYMBAL
- แบบฝึกหัดที่ 12 OPEN AND CLOSE HI-HAT
- แบบฝึกหัดที่ 13 โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น
- แบบฝึกหัดที่ 14 จังหวะ Disco 16th note on Hi-Hat
- แบบฝึกหัดที่ 15 การตีกลอง Tom
- แบบฝึกหัดที่ 16 Fill-in (การตีส่ง)

Disc 1
• Show
• Introduction
• ชื่อส่วนต่างๆ ของกลองชุด
• ไม้กลองและ Pad สำหรับฝึกซ้อม
• การวอร์มข้อมือ
• การจับไม้และการตี
• การนับจังหวะ
• ฝึกอ่านโน้ตเบื้องต้น
• การตี Stroke แบบต่างๆ
• Bass Drum

Disc 2
• Menu Bar
• Relax Show
• Hi-Hat
• Bass Drum + Hi-Hat
• การตีจังหวะ Rock
• การตีจังหวะ Funk
• โน้ตเขบ็ต 2 ชั้น

Disc 3
• การตีจังหวะ Disco
• Accent
• Ride Cymba
• Open & Close Hi-Hat
• Tom
• Fill in



           สิ่งที่ได้จากหนังสือเล่มนี้คือจังหวะในการตีกลองและรู้จักกลองแต่ละใบ การจับไม้กลอง การนับจังหวะหรือทักษะในการตีกลองให้ดูเจ๋ง จังหวะมากมายที่สามารถนำไปใช้ได้ในการตีกลองของนิเทศ จังหวะทุกจังหวะที่สามารถนำเอามารวมกันเป็นจังหวะใหม่ๆได้


แหล่งข้อมูลบุคคล




       หากจะพูดถึงกลองที่มีความมันและจังหวะที่ไม่เหมือนคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากกลองนิเทศศาสตร์และด้วยเหตุผลนี่เองที่ทำให้กลองนิเทศมีเสน่ห์และมีเอกลักษณ์ในตัวเองแต่กว่าจะมาเป็นกลองนิเทศไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ใครก็สามารถเป็นได้ต้องผ่านกระบวนการฝึกที่หนักพอสมควรเพื่อที่จะออกไปเป็นทับหน้าของพวกเราชาวนิเทศศาสตร์


แหล่งข้อมูลสื่อมวลชน












      จังหวะของกลองนิเทศนั้นมีความเป็นเอกลักษณ์และฟังแล้วน่าโยกตามจังหวะที่ตี จังหวะในแต่ละจังหวะหรือแต่ละเพลงมีความเจ๋ง ฟังแล้วหยุดทุกสายตา แล้วยังรวมไปถึงลีลาท่าเต้นของแต่ละเพลงหรือแต่ละจังหวัที่นำการกระโดดเข้ามาทำให้ดูมีพลังและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น







ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า 4.0 International.